ดาว์นโหลด

นักศึกษาสามารถเปิดดูหรือดาว์นโหลดไฟล์ powerpoint หรือเอกสารประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา รศ101 ได้โดยคลิกที่หัวข้อต่อไปนี้ค่ะ.

1. โครงการสอนรายวิชา รศ101

2. ความหมายของปรัชญา

3. ธรรมชาติและขอบข่ายของปรัชญา

4. วิธีการทางปรัชญาและคุณค่าของปรัชญา

5. ปรัชญา ทฤษฎีทางการเมือง และรัฐศาสตร์

6. วิธีการเขียนรายงาน

7. ปรัชญาการเมืองคลาสสิก - เพลโต


วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ปรัชญาของมาร์กซ

แนวคิดหลักของมาร์กซวางอยู่บนความเข้าใจเกี่ยวกับ แรงงาน โดยพื้นฐานแล้ว มาร์กซกล่าวว่ามนุษย์มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงสิ่งรอบข้าง เขาเรียกกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ว่าการ ใช้แรงงาน และความพลังในการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า กำลังแรงงาน สำหรับมาร์กซแล้ว การใช้แรงงานนี้นอกจากจะเป็นความสามารถโดยธรรมชาติของกิจกรรมต่างๆ ทางกายภาพแล้ว แรงงานยังเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับความคิดและจินตนาการของมนุษย์ด้วย:

แมงมุมทำกิจกรรมที่ไม่ต่างไปจากช่างทอผ้า และการสร้างรังของฝูงผึ้งก็สามารถทำให้สถาปนิกต้องอับอายได้ แต่ความแตกต่างระหว่างสถาปนิกที่แย่ที่สุดกับผึ้งที่เยี่ยมยอดที่สุดก็คือ สถาปนิกนั้นวาดภาพโครงสร้างของเขาในจินตนาการ ก่อนที่จะสร้างมันขึ้นมาในโลกความเป็นจริง.

นอกเหนือจากการที่อ้างว่าความสามารถของมนุษย์คือการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ แล้ว มาร์กซมิได้ใช้ข้ออ้างอื่นๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์อีกเลย.

มาร์กซสืบทอดแนวคิดแบบวิภาษวิธีของเฮเกิล ดังนั้นเขาจึงมักจะหลีกเลี่ยงความคิดที่ว่ามนุษย์มีธรรมชาติบางอย่างที่ไม่ เปลี่ยนแปลง บางครั้งมาร์กซิสจะอธิบายแนวคิดนี้โดยการเปรียบเทียบระหว่าง "ธรรมชาติ" กับ "ประวัติศาสตร์" หลายครั้งพวกเขาจะกล่าวว่า "สภาพการมีอยู่นำหน้าสำนึก" นั่นคือใครคนหนึ่งจะเป็นอย่างใดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งแห่งหนและเวลาที่เขา อยู่ -- สถาพทางสังคมมีอำนาจมากกว่าพฤติกรรมดั้งเดิม หรืออาจกล่าวได้ว่าลักษณะสำคัญของมนุษย์คือการปรับตัวให้เขากับสิ่งต่างๆ รอบตัว

มาร์กซไม่เชื่อว่าคนทุกคนจะทำงานในลักษณะเดียวกัน แต่เขาก็ไม่เชื่อเช่นเดียวกันว่าลักษณะที่ใครสักคนทำงานนั้นถูกกำหนดด้วย ความคิดส่วนตัวไปทั้งสิ้น เขากลับอธิบายว่าการทำงานนั้นเป็นกิจกรรมทางสังคม และเงื่อนไขรวมถึงรูปแบบของการทำงานนั้นถูกกำหนดโดยสังคมและเปลี่ยนแปลงตาม เวลา

การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของมาร์กซนั้นวางอยู่บนความแตกต่างระหว่าง ปัจจัยการผลิต ซึ่งหมายถึงสิ่งของเช่นที่ดินหรือทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปจนถึงเทคโนโลยี ที่จำเป็นต่อการผลิตสินค้าที่เป็นวัตถุ และ ความสัมพันธ์เชิงสังคมของการผลิต ที่กล่าวได้ว่าเป็นความสัมพันธ์เชิงสังคมที่ผู้คนถูกดึงเข้าไปร่วม เมื่อเขาได้เป็นเจ้าของและได้ใช้ปัจจัยการผลิต ปัจจัยสองประการนี้รวมเป็น รูปแบบการผลิต มาร์กซสังเกตว่าในสังคมหนึ่งๆ รูปแบบการผลิตนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย สำหรับสังคมทางยุโรปนั้นมีรูปแบบในการพัฒนาโดยเริ่มจากรูปแบบการผลิตแบบศักดินา ไปจนถึงรูปแบบการผลิตแบบทุนนิยม โดยทั่วไปแล้ว มาร์กซเชื่อว่าปัจจัยการผลิตนั้นเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมากกว่าความสัมพันธ์ของการผลิต ยกตัวอย่างเช่นเราได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ เช่นอินเทอร์เน็ต แต่ต้องใช้เวลาหลังจากนั้น ก่อนที่เราจะได้พัฒนากฎหมายที่ควบคุมเทคโนโลยีนั้น สำหรับมาร์กซแล้วการไม่เข้ากันของ ฐาน ทางเศรษฐกิจกับ โครงสร้างส่วนบน (superstructure) ทางสังคม คือสิ่งที่ทำให้เกิดความระส่ำระสายและความขัดแย้งในสังคม

ในการพิจารณาความสัมพันธ์เชิงสังคมของการผลิตนั้น มาร์กซไม่ได้มองแค่ความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกแต่ละคน แต่ยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคน หรือ กลุ่มชนชั้น มาร์กซมิได้นิยาม "ชนชั้น" ขึ้นมาโดยอาศัยใช้เพียงแค่การบรรยายแบบอัตวิสัย (subjective) เท่านั้น หากแต่ว่าเขายังพยายามจะนิยามชนชั้นด้วยเงื่อนไขที่เป็นแบบวัตถุวิสัย (objective) ด้วย เช่นการเข้าถึงทรัพยากรในการผลิต

มาร์กซให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับกำลังแรงงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่สุดของมนุษย์เอง ในการอธิบายความสัมพันธ์นี้โดยละเอียด มาร์กซทำโดยผ่านทางปัญหาความแปลกแยก ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงาน กล่าวคือ เมื่อกำลังแรงงานได้ถูกใช้ไปในการผลิต แต่เมื่อกิจกรรมนั้นสิ้นสุดลงกรรมสิทธิ์ของผลลัพธ์ที่ได้กลับตกไปเป็นของ นายทุน นั่นคือมองได้ว่าเป็นการละทิ้งกรรมสิทธิ์ในกำลังแรงงานของตนเอง สภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดความแปลกแยกจากธรรมชาติของตนเอง และก่อให้เกิดความรู้สึกสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดสภาพการคลั่งไคล้โภคภัณฑ์ (commodity fetishism) ซึ่งผู้คนจะคิดว่าสิ่งสำคัญที่พวกเขาสร้างขึ้นก็คือสินค้า ความสำคัญทุกอย่างจะถูกถ่ายโอนไปที่วัตถุรอบกายแทนที่จะเป็นผู้คนด้วยกันเอง หลังจากนั้นผู้คนจะมองเห็นและเข้าใจตนเองผ่านทางความสัมพันธ์กับทรัพย์สิน หรือสินค้าที่ตนเองครอบครองไว้เท่านั้น

การคลั่งไคล้โภคภัณฑ์นี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของสิ่งที่เองเงิลส์เรียกว่า สำนึกที่ผิดพลาด ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเข้าใจในเรื่องของ อุดมการณ์ ซึ่งมาร์กซและเองเงิลส์ได้ให้ความหมายว่าเป็นความคิดที่สะท้อนผลประโยชน์ของ บางชนชั้นในบางช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ แต่กลับถูกแสดงว่าเป็นความเชื่อที่ถูกต้องสำหรับทุกๆ ชนชั้นและทุกๆ เวลา ในความคิดของพวกเขานั้น ความเชื่อดังกล่าวมิได้เป็นเพียงแค่สิ่งที่ผิดพลาดเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ทำหน้าที่สำคัญทางการเมืองด้วย กล่าวในอีกนัยหนึ่งได้ว่า การควบคุมที่ชนชั้นหนึ่งๆ กระทำผ่านทางการครอบครองเครื่องมือการผลิตนั้นมิได้เกิดขึ้นเฉพาะกับกับการ ผลิตอาหารหรือสินค้าเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับการผลิตความคิดหรือความเชื่อด้วยเช่นกัน ความคิดนี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่าทำไมสมาชิกของชนชั้นที่ถูกกดขี่ จึงยังมีความเชื่อที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของตนเอง ดังนั้นแม้ว่าความเชื่อบางอย่างจะผิดพลาดแต่มันก็ยังเผยให้เห็นความจริงบาง อย่างที่ถูกซ่อนไว้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการเมือง ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อที่ว่าสิ่งของที่คนผลิตขึ้นนั้นมีผลิตผลมากกว่าคนที่ผลิตมันขึ้นมา นั้นอาจฟังประหลาด แต่มันก็แสดงให้เห็น (ในความคิดของมาร์กซและเองเงิลส์) ว่าผู้คนภายใต้ระบบทุนนิยมนั้นถูกทำให้แปลกแยกจากกำลังแรงงานของตนเอง อีกตัวอย่างหนึ่งพบได้ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาโดยมาร์กซ ที่สรุปได้ในย่อหน้าหนึ่งของ Contribution to the Critique of Hegel's "Philosophy of Right:"

ความทุกข์ทางศาสนานั้นเป็นทั้งการแสดงออกของความทุกข์ที่แท้จริงและการ ประท้วงไม่ยอมแพ้ต่อความทุกข์ที่แท้จริง ศาสนาคือเสียงกรีดร้องของสิ่งมีชีวิตที่ถูกกดขี่ หัวใจของโลกที่ไร้หัวใจ และวิญญาณของสภาพไร้วิญญาณ มันคือฝิ่นของมวลชน

แม้ว่าในงานวิทยานิพนธ์ระดับเตรียมอุดมศึกษาเขาเคยอ้างว่าหน้าที่หลักของ ศาสนาคือการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ในที่นี้มาร์กซมองว่าศาสนานั้นเป็นเครื่องมือทางสังคมสำหรับการแสดงออก และจัดการกับความเหลื่อมล้ำนั่นเอง


เราสามารถสรุปแนวคิดของคาร์ล มาร์กซได้คร่าวๆดังนี้

  1. ประวัติศาสตร์ของมนุษย์เป็น การต่อสู้ระหว่างชนชั้น โดยนับต้องแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน เช่น ทาสกับนาย ไพร่กับผู้ดี นายจ้างกับลูกจ้าง โดยจะมีคนนึงเป็นผู้ข่มเหง และอีกคนหนึ่งเป็นผู้ถูกข่มเหง
  2. โลกของนายทุน ในโลกปัจจุบันเกิดชนชั้นใหม่ที่มีบทบาทในสังคมมาก ได้แก่พวกนายทุน นายทุนเอาเปรียบชนชั้นแรงงานทุกวิถีทาง อำนาจของนายทุนคืออำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง โดยกษัตริย์และผู้ปกครองก็อยู่ภายใต้อิทธิพลนายทุนด้วย
  3. พวกนายทุนทั้งหลายมักเรียกร้องเสรีภาพ เช่น การค้าขายอย่างเสรี การแข่งขันเสรี แต่แท้จริงแล้วเป็นการเรียกร้องให้ตัวเองเอาเปรียบผู้อื่น
  4. นายทุนเป็นพวกไร้ศีลธรรม มองเห็นความสัมพันธ์ของมนุษย์เป็นเพียงการสะสมเงินทอง ส่วนคุณค่าทางจิตใจ ความเมตตาปรานีหรือมนุษยธรรมแทบจะไม่มีอยู่ในสำนึกของนายทุน
  5. ชนชั้นกรรมาชีพจะชนะนายทุนในที่สุด ในตอนแรกสังคมอาจมีหลายชนชั้น แต่สุดท้ายจะเหลือเพียง นายทุน และ กรรมาชีพ ซึ่งจะถูกนายทุนข่มเหงตลอดเวลา จนต้องรวมตัวเป็นสหภาพกรรมกร และกลายมาเป็นพรรคการเมือง จนมีอำนาจเอาชนะนายทุนได้
  6. ไม่มีทรัพย์สินส่วนตัว ลักษณะที่สำคัญที่สุดของระบอบคอมมิวนิสต์คือ การล้มล้างทรัพย์สินส่วนตัว เพราะสิ่งนี้คือ สัญลกษณ์แห่งความเห็นแก่ตัว ของนายทุน

การวิพากษ์ระบบทุนนิยมโดยมาร์กซ

มาร์กซอธิบายว่าสภาวะแปลกแยกของกำลังแรงงาน (ที่ทำให้เกิดการคลั่งไคล้โภคภัณฑ์) นั้นเป็นลักษณะเฉพาะตัวของระบบทุนนิยม หาใช่การเกิดขึ้นของตลาดเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้เนื่องจากก่อนหน้าจะมีระบบทุนนิยม ในยุโรปก็มีตลาดที่ผู้ค้าและผู้ผลิตได้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าอยู่แล้ว ในทัศนะของมาร์กซ รูปแบบการผลิตแบบทุนนิยมพัฒนาขึ้นในยุโรปเมื่อแรงงานถูกเปลี่ยนให้เป็น โภคภัณฑ์---นั่นคือ เมื่อชาวนามีอิสระที่จะขายกำลังแรงงานของตนเอง และอยู่ในภาวะจำเป็นต้องกระทำการดังกล่าวเนื่องจากการขาดที่ดินหรือ เครื่องมือสำหรับการผลิต ผู้คนยอมขายกำลังกายของตนเมื่อเขายอมรับค่าตอบแทนสำหรับงานใดๆ ที่เขาทำในช่วงเวลาหนึ่งๆ (ในอีกทางหนึ่งก็คือ พวกเขาไม่ได้ขายผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการผลิต แต่พวกเขากลับขายความสามารถในการทำงาน) ค่าตอบแทนที่แลกมาด้วยกำลังแรงงานคือเงินที่ทำให้พวกเขามีชีวิตรอดต่อไปได้ กลุ่มคนที่ต้องขายกำลังแรงงานเพื่อการยังชีพคือ "ชนชั้นกรรมาชีพ" ในขณะที่คนที่ซื้อกำลังแรงงาน ซึ่งมักจะเป็นผู้ที่ครอบครองที่ดินและเครื่องมือรวมถึงเทคโนโลยีในการผลิตคือ "นายทุน" หรือ "กระฎุมพี" แน่นอนว่าจำนวนของชนกรรมาชีพย่อมมากกว่าจำนวนนายทุน มาร์กซเชื่อว่าการอธิบายระบบทุนนิยมในลักษณะนี้เป็นการอธิบายแบบวัตถุพิสัย ซึ่งแตกต่างจากคำกล่าวอ้างอื่นๆ เกี่ยวกับระบบทุนนิยม ซึ่งมักจะขึ้นกับอุดมการณ์บางอย่าง

มาร์กซแยกแยะความแตกต่างระหว่างนายทุนกับผู้ค้าขาย พ่อค้าแม่ค้าซื้อสินค้าจากที่หนึ่งมาเพื่อขายในอีกที่หนึ่ง หรือถ้าจะกล่าวให้ชัดเจนก็คือ พวกเขาซื้อของจากตลาดหนึ่งเพื่อไปขายยังอีกตลาดหนึ่ง เนื่องจากกฎอุปสงค์และอุปทานทำงาน ภายในตลาดใดๆ ตลาดเดียว ราคาโภคภัณฑ์ระหว่างสองตลาดอาจมีความแตกต่างกันได้ ผู้ค้าขายจึงใช้ประโยชน์จากความแตกต่างนี้เพื่อหวังกำไร ในความคิดของมาร์กซนั้น นายทุนกลับใช้ความแตกต่างระหว่างตลาดแรงงานกับตลาดของโภคภัณฑ์ที่ผลิตขึ้น มาร์กซสังเกตว่าในทุกๆ อุตสาหกรรมที่ประสบผลสำเร็จ ค่าจ้างแรงงานจะมีราคาต่ำกว่าราคาของสินค้าที่ผลิตได้ มาร์กซเรียกความแตกต่างนี้ว่า "มูลค่าส่วนเกิน" และอธิบายว่ากำไรของนายทุนนั้นเกิดจากมูลค่าส่วนเกินนี่เอง

รูปแบบการผลิตแบบทุนนิยมนั้นมีศักยภาพในการเติบโตได้มหาศาล ทั้งนี้เนื่องจากนายทุนนั้นสามารถนำผลกำไรที่ได้ไปลงทุนเพิ่มในเทคโนโลยี ใหม่ๆ ได้ และนายทุนเองก็มีแรงจูงใจที่จะการลงทุนเพิ่มเติมในลักษณะเช่นนี้ด้วย มาร์กซมองว่าชนชั้นนายทุนเป็นกลุ่มที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดใน ประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นกลุ่มที่คอยปฏิวัติเครื่องมือในการผลิตอยู่ตลอดเวลา แต่มาร์กซเชื่อว่าในระบบทุนนิยมนั้นจะมีการเกิดวิกฤตเป็นระลอกๆ เขาชี้ให้เห็นว่านายทุนจะลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ในปริมาณที่มากขึ้น ในขณะที่จะลดต้นทุนของแรงงานลงเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน เนื่องจากมาร์กซเชื่อว่ามูลค่าส่วนเกินที่ได้จากการขูดรีดแรงงานคือที่มาของ กำไร เขาสรุปว่าการลงทุนดังกล่าวจะทำให้อัตราได้กำไรลดลงแม้ว่าเศรษฐกิจจะเติบโต ขึ้นก็ตาม การที่อัตราได้กำไรลดลงต่ำกว่าจุดๆ หนึ่งจะก่อให้เกิดภาวะถดถอยหรือภาวะตกต่ำที่จะทำให้บางส่วนของระบบเศรษฐกิจ จะพังลง มาร์กซเข้าใจว่าในช่วงวิกฤตดังกล่าวค่าจ้างแรงงานก็จะเกิดการตกต่ำลงเช่น เดียวกัน และในที่สุดก็จะทำให้การลงทุนในเทคโนโลยีใหม่เป็นไปได้ และทำให้เกิดการเติบโตขึ้นของส่วนใหม่ๆ ของระบบเศรษฐกิจ

มาร์กซเชื่อว่าวงจรของ การเติบโต, ทรุด, และเติบโตใหม่ จะก่อให้เกิดภาวะวิกฤตที่เลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งไปกว่านั้นเขาเชื่อว่าผลกระทบในระยะยาวของกระบวนการนี้จะทำให้นายทุนมี ความแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่กรรมาชีพกลับยากจนลงทุกที เขาเชื่อว่าถ้ากรรมาชีพลุกขึ้นสู้และเข้ายึดครองเครื่องมือในการผลิตแล้ว พวกเขาจะสร้างความสัมพันธ์ในสังคมขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์กับทุกๆ คนอย่างเท่าเทียม และก่อให้เกิดระบบการผลิตแบบใหม่ซึ่งทนทานต่อวิกฤตการณ์มากกว่าแต่ก่อน กล่าวโดยทั่วไปแล้ว มาร์กซเชื่อว่าการเจรจาอย่างสันติจะไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ และการปฏิวัติอย่างรุนแรงของมวลชนขนาดใหญ่ที่มีการจัดการที่ดีเป็นสิ่งที่ จำเป็น เขากล่าวว่าเพื่อจะรักษาการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ รัฐเผด็จการโดยกรรมาชีพจะต้องถูกสร้างขึ้น แต่หลังจากที่ระบบการผลิตแบบใหม่ได้เริ่มขึ้นรัฐดังกล่าวจะค่อยๆ ลดความสำคัญลงและหายไปเอง


แบบทดสอบ ครั้งที่ 2 (5 ข้อ 10 คะแนน)

1. มาร์กซ ให้ความสำคัญกับ "รัฐ" หรือ "ประชาชน" มากกว่ากัน เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?

2. เหตุใดมาร์กซจึงไม่เห็นด้วยกับลัทธิทุนนิยม?

3. มาร์กซเสนอให้ชนชั้นใด มีอำนาจในการปกครอง?

4. นักศึกษาเห็นว่าจุดแข็งหรือข้อดีของแนวคิดของมาร์กซ คืออะไร?

5. มาร์กซเห็นว่า "ความแปลกแยกจากธรรมชาติของตนเอง" ของมนุษย์ เกิดจากอะไร?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น